***นักคิดและนักการศึกษาไทย(กลุ่ม7)


หลักการเเล้ะเเนวคิดทางพระพุทธศาสนาที่ได้รับการนำมาประยุกต์ใช้ในการศึกษา โดย นางสาว สัณหจุฑา ทองศรีนวล





หลักการเเละเเนวคิดเกี่ยวกับเรียนรู้เเละการสอนของนักคิดเเละนักการศึกษาไทย โดย นางสาว พัชราภรณ์ ผอมสวัสดิ์




หลักการเเละเเนวคิดเกี่ยวกับเรียนรู้เเละการสอนของนักคิดเเละนักการศึกษาไทย โดยนางสาว เสาวลักษณ์ บุญมาก



1.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแนวพระราชดำริเกี่ยวกับความหมายของการศึกษา เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๒๐ ไว้ดังนี้
"การศึกษาเป็นเครื่องมืออันสำคัญในการพัฒนาความรู้ ความคิด ความประพฤติ ทัศนคติ ค่านิยม และคุณธรรมของบุคคล เพื่อให้เป็นพลเมืองดีมีคุณภาพและประสิทธิภาพ การพัฒนาประเทศก็ย่อมทำได้สะดวกราบรื่น ได้ผลที่แน่นอนและรวดเร็ว"
จะเห็นว่าการศึกษามีความหมายใน ๒ มิติ คือมิติแรกเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ในเรื่องต่างๆ และมิติที่สองเป็นการพัฒนาบุคคลผู้ศึกษาเองให้มีความคิด ความประพฤติ ทัศนคติ ค่านิยม และคุณธรรม ซึ่งทั้งสองมิติแห่งความหมายนี้แยกกันไม่ได้ ตรงกันข้ามจะต้องควบคู่กันไปเพราะเมื่อบุคคลหนึ่งมีความรู้ แต่มีความประพฤติ ทัศนคติ ค่านิยมและคุณธรรม ที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม ย่อมจะนำไปสู่การใช้ความรู้ในทางที่ไม่ก่อประโยชน์ต่อทั้งตนเองและส่วนรวมได้ ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสรับสั่งในเรื่องนี้มีความหมายตอนหนึ่งว่า
"ความรู้กับดวงประทีปเปรียบกันได้หลายทาง ดวงประทีปเป็นไฟที่ส่องแสงเพื่อนำทางไป ถ้าใช้ไฟนี้ส่องไปในทางที่ถูก ก็จะไปถึงจุดหมายปลายทางได้โดยสะดวกเรียบร้อย แต่ถ้าไม่ระวังไฟนั้น อาจเผาผลาญให้บ้านช่องพินาศลงได้ ความรู้เป็นแสงสว่างที่จะนำเราไปสู่ความเจริญ ถ้าไม่ระมัดระวังในการใช้ความรู้ก็จะเป็นอันตรายเช่นเดียวกัน จะทำลายเผาผลาญบ้านเมืองให้ล่มจมได้" (๒๘ มกราคม ๒๕๐๕)
การศึกษาในความหมายนี้สะท้อนให้เห็นว่า การศึกษาไม่ใช่สิ่งที่จบหรือสิ้นสุดในตัวเอง แต่การศึกษาจะต้องนำไปสนองต่อเป้าหมาย หรือจุดมุ่งหมายบางประการ โดยเฉพาะต่อสังคมส่วนรวม (ซึ่งจะได้กล่าวในหัวข้อต่อไป) นั่นหมายความว่าการศึกษาเป็นเครื่องมือที่จะช่วยนำพาให้บุคคลและสังคมไปสู่จุดมุ่งหมายที่พึงประสงค์ได้ การศึกษาที่สมบูรณ์จะต้องรวมไปถึงการใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมส่วนรวมได้จึงจะถือได้ว่าเป็นการศึกษาในความหมายที่ครบถ้วน สมดังที่พระราชกระแสที่ว่า
"การที่มีการศึกษาสมบูรณ์แล้วนี้ ทำให้แต่ละคนหลีกเลี่ยงไม่ได้จากความรับผิดชอบที่จะต้องใช้ความรู้ สติปัญญาของตนให้เป็นประโยชน์และเป็นความเจริญวัฒนาแก่บ้านเมืองและส่วนรวม"

2.ชื่อ ประเวศ วะสี
วันเกิด 5 สิงหาคม พ.ศ. 2575
นักการศึกษา นักวิชาการ
บุคคลสำคัญของไทยอีกท่านหนึ่งที่มีบทบาทหลาย ๆ ด้าน ทั้งในการการศึกษา ท่านได้ผลักดันการปฎิรูปการศึกษา และขับเคลื่อนทิศทางการแก้ไขปัญหาประเทศชาติในยุค พ.ศ. นี้ นับว่าท่านคือนักปฎิรูปโดยแท้
โดยเฉพาะในด้านการศึกษาท่านนายแพทย์ประเวศ วะสี ท่านได้เขียนบทความและแนวคิดมากกมายเกี่ยวกับการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงการศึกษาไทยให้เจริญก้าวหน้า ซึ่งท่านให้ความสำคัญกับการศึกษาอย่างมาก และการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของท่านคือ การพัฒนาตรงที่จิตวิญญาณความเป็นไทย ความเป็นมนุษย์ตรงนี้สำคัญที่สุด




3.ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. สิปปนนท์ เกตุทัต
(23 กุมภาพันธ์ 2474 — 16 กรกฎาคม 2549) ราชบัณฑิตกิตตมศักดิ์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวไทย ทีมีคุณูปการต่อวงการศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม และการพัฒนาประเทศไทยในภาพรวม ท่านเป็นผู้บุกเบิกหลายสิ่งในประเทศ ที่เป็นรากฐานทำให้เกิดองค์กรและโครงการที่ช่วยในการยกระดับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การศึกษา ของประเทศมาโดยลำดับ ท่านมีผลงานเขียน ที่จุดประกายให้เยาวชนไทย และผู้บริหารการพัฒนาประเทศได้ใช้นำทางจำนวนมาก และในวาระที่ท่านดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ท่านได้กราบทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเพื่อนำเอา ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการวางแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย และเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์




4. ศ.สุมน อมรวิวัฒน์
เราจะเป็นทาสปัญญาของฝรั่งไม่ได้ แต่เราก็ไม่ปฏิเสธความรู้ใหม่ที่มีความเหมาะสม
สมบัติทิพย์ที่น่าจะนำมาใช้เป็นพื้นฐานของการจัดการศึกษาไทยคือ วัฒนธรรม ปัญญาธรรม และเมตตาธรรม





5.ดร. วิชัย ตันศิริ แจ้งต่อที่ประชุมว่า ได้เคยเขียนบทความในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิรูป
การศึกษา โดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับปัจจัยสาเหตุที่ทำให้มีการปฏิรูปการศึกษา และในวันนี้จะ
ไม่พูดในสิ่งที่เขียนไปแล้วแต่จะพูดในเชิงปรัชญา และจะเป็นปรัชญาที่ง่ายต่อการเข้าใจ โดยมีจุด
มุ่งหมายของการบรรยาย คือ ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิสัยทัศน์





6.แนวคิดทางการศึกษาของ ดร.รุ่ง แก้วแดง

ดร.รุ่ง แก้วแดง นักบริหารและนักการศึกษาผู้ดำรงตำแหน่งทางราชการที่สำคัญๆ หลายตำแหน่ง ในกระทรวงศึกษาธิการ ท่านเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการปลุกกระแส กระตุ้นและดำเนินการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษา ท่านได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ไว้จำนวนมาก ในที่นี้จะนำเสนอแนวคิดที่สำคัญๆ ของท่านที่เกี่ยวกับการศึกษาไว้ ๓ แนวคิดหลักดังนี้ คือ

ก. แนวคิดเกี่ยวกับการปฏิวัติมุมมองต่อผู้เรียน

การปฏิวัติการศึกษาที่สำคัญที่สุดตามความเห็นของ ดร.รุ่ง แก้วแดง คือ การปฏิวัติมุมมองที่มีต่อผู้เรียน ท่านกล่าวว่า ที่ผ่านมา ผู้เรียนถูกมองว่าเป็น “วัตถุดิบ” ที่ส่งผ่านมาเข้ากระบวนการหรือเครื่องจักรทางการศึกษา (สถาบันการศึกษา) จนได้ผลผลิตที่เป็นบัณฑิตออกมา ซึ่งมุมมองนี้ควรจะปรับเปลี่ยนไปเป็นดังนี้

๑) ผู้เรียน คือ ผู้ที่มีสมอง มีสติปัญญา มีความคิด มีความอยากรู้ อยากเรียน และเป็นมนุษย์ที่ประเสริฐและมีศักดิ์ศรี

๒) ผู้เรียน คือ ผู้ที่เป็นที่รักของเรา เป็นลูก หลาน หรือศิษย์รัก

๓) ผู้เรียน คือ อนาคตของชาติ ความสามารถในการแข่งขันกับสังคมโลกของประเทศไทยขึ้นอยู่กับผู้เรียนในวันนี้

๔) ผู้เรียน คือ ตัวของเราเองและทุกคนในสังคม ทุกวัย ทุกกลุ่มเป้าหมาย ตามแนวความคิดเรื่องการศึกษาตลอดชีวิต

๕) ผู้เรียน คือ ลูกค้า ของครูและสถานศึกษา ผู้ซึ่งมีสิทธิได้รับบริการทางศึกษาที่มีคุณภาพ เป็นที่พึงพอใจ สอดคล้องกับความต้องการและความถนัดของเขา

ด้วยเหตุนี้ กระบวนการจัดการเรียนการสอน จึงควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพหรือพหุปัญญาของเขาอย่างเต็มที่ การปฏิบัติต่อผู้เรียนควรเป็นไปอย่างให้เกียรติความเป็นมนุษย์ของเขา ยอมรับในสิทธิของผู้เรียน คำนึงถึงความต้องการ ความถนัดและความสนใจของเขา การเรียนรู้ควรต้องเน้นให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ รู้จักเชื่อมโยงความคิด รู้จักใช้และพัฒนาภูมิปัญญาไทย ปรับค่านิยมให้เหมาะกับสภาพการณ์ พัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมที่พึ่งประสงค์ การจับดการศึกษาและการเรียนการสอนต้องมุ่งสนองตอบความต้องการของลูกค้าคือผู้เรียน ให้ความสำคัญกับผู้เรียนและให้ทางเลือกกับผู้เรียนมากขึ้น[1]

ข. แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการเรียนการสอน[2]

การจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วยกระบวนการหลัก ๒ กระบวนการ คือ กระบวนการเรียนรู้กับกระบวนการสอน ซึ่งกระบวนการสอนจะต้องเป็นไปเพื่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน ท่านได้วิเคราะห์ให้เห็นสภาพของการเรียนการสอนที่ควรปรับเปลี่ยนไปจากอดีต ดังนี้

๑) ที่ผ่านมาโดยทั่วไป โรงเรียนมีการสอนมากกว่าการเรียน ครูมีบทบาทในการทำกิจกรรมต่างๆ มากกว่าผู้เรียน ดังนั้น จึงควรมีการปฏิวัติระบบการเรียนการสอน ซึ่งกระบวนการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีบทบาทมากที่สุดในกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนสภาพจากห้องสอนเป็นห้องเรียนและโรงสอนเป็นโรงเรียน

๒) ที่ผ่านมาโรงเรียนส่วนใหญ่ยังจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยไม่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง แต่กลับยึดตัวครู หลักสูตร เนื้อหาวิชา สื่อ และการวัดผลเป็นหลัก การมุ่งเน้นเนื้อหาทำให้ผู้เรียนไม่ได้พัฒนาสมอง ไม่ได้ใช้ความคิด และไม่ได้สร้างความรู้ด้วยตัวเอง เป็นเหตุให้ผู้เรียนขาดความสามารถในการคิดและการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ครูจึงควรปฏิวัติกระบวนการเรียนรู้ โดยเปลี่ยนบทบาทของตนจากการถ่ายทอดความรู้ มาเป็นการสนับสนุนส่งเสริมช่วยเหลือและอำนวยความสะดวก ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และสร้างความรู้ด้วยตนเอง

๓) ที่ผ่านมา การเรียนส่วนใหญ่จะเป็นการเรียนแบบแยกส่วน แยกเป็นรายวิชาขาดการเชื่อมโยงความรู้เข้าด้วยกัน และการเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน ทำให้ผู้เรียนไม่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ดังนั้น การจัดหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนจึงควรมีลักษณะที่บูรณาการมากขึ้น เปลี่ยนจากรายวิชาเป็นการเรียนแบบองค์รวม เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้แบบองค์รวมที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนได้

๔) ที่ผ่านมา การเรียนสร้างความเครียดและความทุกข์ให้แก่เด็ก ทำให้นักเรียนมีเจตคติที่ไม่ดีต่อการเรียนรู้ ขาดความใฝ่รู้ ดังนั้น จึงควรมีการปฏิวัติกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองและเรียนรู้ตามความสนใจมากขึ้น มีความสุข สนุกกับการศึกษาเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้

๕) ที่ผ่านมาผู้เรียนมีบทบาทเป็นผู้รับความรู้จากครู ผู้เรียนไม่มีโอกาสได้ฝึกฝนการเรียนรู้ด้วยตนเอง จึงขาดความสามารถในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะขาดการเรียนรู้กระบวนการในการแสวงหาความรู้ ดังนั้น ครูจึงควรฝึกฝนให้ผู้เรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

๖) ที่ผ่านมา การเรียนรู้ถูกจำกัดอยู่ในห้องเรียนเท่านั้น การเรียนรู้ที่แท้จริงนั้นไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นในห้องเรียนเสมอไป ครูควรเปิดโอกาสและกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย การเรียนแบบใหม่เป็นการเรียนตลอดเวลา เป็นการเรียนตามความพร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกเวลา เรียนที่ไหนก็ได้ และสอบที่ไหน เมื่อไรก็ได้

ค. แนวคิดเกี่ยวกับการปฏิรูปบทบาทหน้าที่ของครู

ครูเป็นกำลังสำคัญที่จะขับเคลื่อนให้การปฏิรูปการศึกษาและกระบวนการเรียนรู้ประสบความสำเร็จได้ หากครูไม่มีการปฏิวัติมุมมองต่อผู้เรียน และไม่ปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอน ความสำเร็จก็คงเกิดขึ้นไม่ได้ ท่านได้เสนอหลักการในการจัดการเรียนการสอนสำหรับครูยุคใหม่ไว้ว่า ครูควรให้การเรียนเป็นสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เรียน ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางคือให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ และเอาใจใส่ผู้เรียนเป็นรายบุคคล รวมทั้งครูจะต้องทำตัวเป็นกัลยาณมิตรกับผู้เรียนด้วย นอกจากนี้ท่านยังได้เสนอกระบวนการเรียนการสอน ๑๐ ขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วย

๑) การศึกษารวบรวมข้อมูลของผู้เรียนเป็นรายบุคคล

๒) การวิเคราะห์เพื่อค้นหาศักยภาพของผู้เรียน

๓) การร่วมกับผู้เรียนในการสร้างวิสัยทัศน์

๔) การรวมกันวางแผนการเรียน

๕) การแนะนำช่วยเหลือเรื่องการเรียน

๖) การสรรหาสื่อและอุปกรณ์

๗) การให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง

๘) การเสริมพลังและสร้างกำลังใจ

๙) การร่วมกันประเมินผล

๑๐) การเก็บรวบรวมข้อมูล[3]

ท่านได้กล่าวอีกว่า ครูที่สอนตามกระบวนการนี้จะมีภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนไปจากเดิมอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ ครูจะมีบทบาทเป็น “ผู้อำนวยความสะดวก” (facilitator) ผู้ให้คำแนะนำและเสริมพลังแก่นักเรียน ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งท่านขอเรียกครูแบบนี้ว่าเป็น “ครูพันธ์ใหม่” เพราะเป็นคำบ่งบอกถึงความเปลี่ยนแปลงของครูแบบพลิกโฉม





7.ศ.ดร.ชัยอนันต์
กล่าวถึงความสำคัญของการจัดการศึกษาว่า การศึกษาเป็น เรื่องที่มีความสำคัญมากในขณะนี้ ขณะที่สังคมกำลังมีการเปลี่ยนแปลง แต่สำหรับ การจัดการศึกษานั้นยัง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก เนื่องจากการจัดการศึกษาไทยนั้นให้ความสำคัญในเรื่องความดี ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีการจัดการศึกษาที่เป็นหลักสูตรเดียว และใช้วิธีการสอน ทำให้เปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างน้อย ทั้งๆที่โลกและความรู้เปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมาก ซึ่งสำหรับการเน้นความมีเอกภาพของการศึกษา พบว่า ต้องการให้การศึกษาเข้าถึงประชาชนอย่างทั่วถึง และส่วนใหญ่รัฐยังมีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษา

สำหรับเรื่องการจัดการศึกษาตามความต้องการของสังคม เพื่อหาแนวทางการจัดการศึกษาอย่างไรให้ตรงความต้องการของสังคมนั้น ถือเป็นเป้าหมายที่สำคัญของการศึกษา นอกเนื่องไปจากสร้างความเสมอภาคทางคุณภาพการศึกษา ประสิทธิภาพในการจัดการทรัพยากรในการศึกษา เพื่อให้เกิดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม




8.ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

การกำหนดทิศทางและนโยบายการจัดการศึกษาไทย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดทำฐานข้อมูล โดยวิเคราะห์และสกัดปัจจัยสำคัญออกมา บทความนี้นำเสนอปัจจัยภายนอก 5 ประการสำคัญที่มีผลต่อการจัดการศึกษาไทย ดังนี้

1. ปัจจัยด้านเทคโนโลยี ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีมีผลต่อการกำหนดคุณสมบัติและคุณภาพของแรงงานในอนาคต เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีการขนส่ง เทคโนโลยีการผลิต นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีชีวภาพ ฯลฯ มีความก้าวหน้าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้มีประโยชน์ในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ ดังนั้นการจัดการศึกษาจึงต้องมีการเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในหลักสูตรการเรียนการสอน และปรับปรุงให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี
2. ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยทางเศรษฐกิจมีผลต่อตลาดแรงงานและตลาดการศึกษา เนื่องจากการกำหนดลักษณะของแรงงานที่ต้องการ อาทิ เศรษฐกิจใหม่ จะแข่งขันกันด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งต้องอาศัยการวิจัยและพัฒนา ดังนั้น การศึกษาต้องพัฒนาคนให้มีทักษะการทำวิจัย ให้สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ที่มีคุณค่าต่อระบบเศรษฐกิจ การเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้า และเงินลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น ประเทศต่าง ๆ ไม่เพียงแต่ต้องลดการกีดกันการแข่งขันเท่านั้น ยังต้องแข่งขันกันด้วยสินค้าที่มีคุณภาพ ซึ่งต้องอาศัยแรงงานที่มีฝีมือ มีทักษะความสามารถที่หลากหลาย เช่น ความรู้ด้านเทคโนโลยี ภาษาต่างประเทศ การบริหาร ฯลฯ ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บริหารการศึกษาที่จะพัฒนาคนให้มีคุณภาพ
3. ปัจจัยด้านระบบราชการ การปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาเคลื่อนไปอย่างยากลำบาก เนื่องด้วยระบบราชการเป็นอุปสรรค ซึ่งเกิดจาก ความล่าช้าในการประสานงาน เนื่องจากการทำงานตามระบบราชการไทย มักทำงานแบบต่างคนต่างทำไม่ไปในทิศเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีลักษณะของการรวมศูนย์ที่ส่วนกลางมากเกินไป การทำงานแบบราชการ ที่ยึดกฎระเบียบตายตัว ขาดความยืดหยุ่น และเอื้อต่อการปฏิบัติงานของผู้บริหารการศึกษาและครูบางส่วนที่ไม่ยอมปรับตัว
4. ปัจจัยด้านการเมือง กล่าวกันว่า การปฏิรูปหรือพัฒนาการจัดการศึกษาจะสำเร็จหรือล้มเหลว ขึ้นอยู่กับการเมืองมากกว่าแนวทางและวิธีการ แต่หากการเมืองไทยมีเงื่อนไขบางประการที่เป็นอุปสรรค จะส่งผลให้การปฏิรูปการศึกษาไทยไม่ก้าวหน้าหรือประสบความสำเร็จเท่าที่ควร อาทิ
การปรับเปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) บ่อยครั้ง ทำให้การดำเนินนโยบายการพัฒนาการศึกษาไม่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะรัฐบาลทักษิณ มีการเปลี่ยนรัฐมนตรี ศธ. บ่อยมาก คนละ 9 เดือนโดยเฉลี่ย นักการเมืองมอง ศธ. ว่า เป็นกระทรวงที่สร้างผลงานได้ยาก ตำแหน่ง รมว. ศธ. จึงนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง อาทิ เป็นรางวัลแก่ผู้สนับสนุนพรรค ผู้ที่เข้ามาดำรงตำแหน่งจึงมิใช่ผู้มีความรู้ในด้านการศึกษาอย่างแท้จริง
ความไม่สอดคล้องของเป้าหมายของการจัดการศึกษากับเป้าหมายทางการเมือง เป้าหมายของนักการเมืองหลายคนคือ ต้องการคะแนนนิยม จึงมีนักการเมืองจำนวนไม่น้อยที่ไม่ดำเนินนโยบายที่ให้ผลในระยะยาว เนื่องจากเสี่ยงที่จะทำให้ตนเองไม่เป็นที่นิยมทางการเมือง ซึ่งนั่นหมายความรวมถึงนโยบายการศึกษา ดังนั้นนักการเมืองจึงเลือกดำเนินนโยบายที่เห็นผลในระยะสั้น เพื่อทำให้ตนเองได้รับเลือกตั้งเข้ามาอีกครั้ง อันเป็นอุปสรรคยิ่งต่อการพัฒนาการศึกษาไทย
5. ปัจจัยด้านวัฒนธรรม สังคมไทยมีเงื่อนไขทางวัฒนธรรมหลายประการ ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาไทย ดังนี้
ขาดวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม สังคมไทยในปัจจุบันขาดความเหนียวแน่น ขาดความร่วมแรงร่วมใจ คนในสังคมจึงมองการศึกษาว่าเป็นเรื่องของรัฐบาลไม่เกี่ยวกับตนเอง
รักความสนุกและความสบาย คนไทยส่วนใหญ่สนใจความบันเทิงมากกว่าการแสวงหาความรู้ จึงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
สังคมอุปถัมภ์ สังคมไทยยังมีลักษณะสังคมอุปถัมภ์ เห็นแก่พวกพ้องมากกว่าส่วนร่วม ผู้ที่มีอำนาจมักแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้อง โดยที่ประชาชนไม่กล้าขัดขวาง เพราะต้องพึ่งพาอาศัย ดังนั้น เมื่อมีการกระจายอำนาจทางการศึกษา อาจกลายเป็นแหล่งผลประโยชน์ให้กับผู้มีอิทธิพลได้หากควบคุมไม่ดี
ขาดการเปิดกว้างทางความคิดและการรับฟังความเห็นของผู้อื่น สังคมไทยมีค่านิยมว่า การมีความคิดที่แตกต่างหรือการเป็นแกะดำ เป็นสิ่งไม่ดี มองผู้ที่คิดแตกต่างเป็นศัตรู และพยายามหักล้างความคิดซึ่งมักกระทำโดยใช้อารมณ์มิได้ใช้เหตุผลเป็นที่ตั้ง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาผู้เรียนที่ปัจจุบันมุ่งสร้างคนให้คิดเป็นทำเป็น
ปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น ล้วนเป็นปัจจัยหลักที่หน่วยงานกำหนดธงพัฒนาระบบการศึกษาไทย จะต้องให้ความสำคัญ และนำไปใช้วิเคราะห์วางแผนกำหนดทิศทางและนโยบาย โดยเฉพาะปัจจัยด้านการเมือง ซึ่งมีอิทธิพลมากต่อการพัฒนาการศึกษาไทย เพราะหากแม้ว่าจะมีการขยับหรือพัฒนาปัจจัยอื่นมากเพียงใด แต่หากปัจจัยการเมืองไม่ถูกพัฒนาให้เอื้อต่อการจัดการศึกษา ย่อมส่งผลให้การขยับหรือพัฒนาปัจจัยอื่นย่อมกระทำได้ยาก และอาจไม่นำพาสู่ความสำเร็จได้ หากเปรียบเทียบให้ปัจจัยทางการเมือง เปรียบเสมือนน้ำที่หล่อเลี้ยงให้ระบบการศึกษาไทยเติบโตงอกงามผลิดอกออกผลที่มีคุณภาพ แต่หากขาดการหล่อเลี้ยงน้ำที่มากเพียงพอ ย่อมจะทำให้การจัดการศึกษาเหี่ยวเฉา และไม่เจริญก้าวหน้า ดังนั้นการพัฒนาการจัดการศึกษาไทย จึงขึ้นอยู่กับจุดยืนและภาวะของผู้นำประเทศและผู้นำกระทรวงศึกษาธิการที่ให้ความสำคัญ ผลักดันและสนับสนุน ให้เกิดการขับเคลื่อนในการพัฒนาระบบการศึกษาไทย