ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอนร่วมสมัย 1


ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอนร่วมสมัย

 1)ทฤษฎีทางสมองในการประมวลข้อมูล นำเสนอโดย นายวีระพงศ์ เสือบุญทอง เเละ นางสาว กมลเนตร ดิสโสภา





 2)ทฤษฎีพหุปัญญา นำเสนอโดย นางสาว ฉัตรพิไล จันทร์ราม

 

 


3)ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง นำเสนอโดย นางสาวยลลัดดา  ขุนจิตรใจ

 





ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล(Information Processing Theory)



                    ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล(Information Processing Theory)


ทิศนา แขมมณี ผู้รวบรวมKlausmeier(1985:105) คลอสเมียร์
กล่าวไว้ว่า กระบวนการประมวลข้อมูลจะเริ่มต้นจากการที่มนุษย์


รับสิ่งเร้าเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 สิ่งเร้าที่เข้ามาจะได้รับการบันทึกไว้ในความจำระยะสั้น
ซึ่งบันทึก


นี้จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ประการคือ
การรู้จัก และความเอาใจใส่ ของบุคคลที่รับสิ่งเร้าที่ตนรู้จักหรือมีความสนใจสิ่งเร้านั้นจะได้รับการบันทึกลงในความจำระยะสั้น(
short-termmemory)
ความจำจะส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่แสดงออกมา

ทิศนา แขมมณี ผู้รวบรวม Eggen and Kuachak(1997:260)กล่าวไว้ว่า กระบานการทางสมองในการประมวลข้อมูลเปรียบเทียบได้กับคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมสั่งงาน
การบริหารควบคุมการประมวลของสมองก็คือการที่บุคคลรู้ถึงการคิดของตนและสามารถควบคุมได้ลักษณะนี้เรียกว่า
การรู้คิด องค์ประกอบสำคัญของการรู้คิดที่ใช้ในการควบคุมกระบวนการประมวลข้อมูลประกอบด้วยแรงจูงใจ
ความตั้งใจ และความมุ่งหวังต่างๆ


ทิศนา แขมมณี ผู้รวบรวม Garofalo and Lester(1985:163-176) กล่าวไว้ว่า การตระหนักรู้จะนำไปสู่การคิดหากลวิธีต่างๆที่จะมาช่วยให้ตนจดจำในสิ่งที่เรียนได้ดี
เช่น การท่องจำ การจดบันทึก และการใช้เทคนิคช่วยจำอื่นๆ เช่นการจำตัวย่อ การทำรหัส
การเชื่อมโยงในสิ่งที่สัมพันธ์กัน ความรู้ในเชิงเมตาคอคนิชันมักจะประกอบไปด้วยความรู้เกี่ยวกับบุคคล
งาน และกลวิธี


สรุป ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล คือ สมองของมนุษย์ก็เปรียบเสมือนคอมพิวเตอร์เมื่อได้รับข้อมูลก็จะประมวลผลของข้อมูลแล้วแสดงออกมาทางพฤติกรรม
คำพูด เป็นต้น






ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences)

     เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น
แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง
8 ประเภทด้วยกัน ประกอบด้วย



-
เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic intelligence)


-
เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical
mathematical intelligence)



-
สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial intelligence)


-
เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical intelligence)


-
เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily
kinesthetic intelligence)



-
เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal
intelligence)



-
เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal
intelligence)



-
เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist
intelligence)


เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้ คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น
และมีความสามารถในด้านต่างๆไม่เท่ากัน ความสามารถที่ผสมผสานกันออกมา ทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผนซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน







          ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)

ทิศนา แขมมณีผู้รวบรวม Piaget(1972:1-12) กล่าวไว้ว่า
คนทุกคนจะมีพัฒนาเชาว์ปัญญาไปตามลำดับขั้น จากการมีปฎิสัมพันธ์และประสบการณ์กับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ
และประสบการณ์เกี่ยวกับการคิดเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์ รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้ทางสังคม
วุฒิภาวะ และกระบวนการพัฒนาความสมดุลของบุคคลนั้น


ทิศนา แขมมณีผู้รวบรวม Vygotsky(1978:90-91) กล่าวไว้ว่า
การให้ความช่วยเหลือชี้แนะแก่เด็ก ซึ่งอยู่ในลักษณะของ
assisted learning หรือ scaffolding เป็นสิ่งสำคัญมากเพราะสามารถช่วยพัฒนาเด็กให้ไปถึงระดับที่อยู่ในศักยภาพของเด็กได้
การเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เป็นรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางสังคม
และการปฎิบัติจริง โดยผู้เรียนจะเรียนรู้และสร้างความรู้ได้จากสังคมที่อยู่
จากวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน หรือจากเพื่อน ผู้เรียนจะเรียนรู้วิธีการหาแนวคิดรวบยอด
ด้วยตัวเอง โดยแต่ละคนก็จะมีวิธีการของที่แตกต่างกันเนื่องจากมีภูมิหลังและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน
ในการร่วมกันคิด และเข้าถึงองค์ความรู้ที่แท้จริง


ทิศนา แขมมณีผู้รวบรวม Devries(1992:3-6) กล่าวไว้ว่า
การเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้และควบคุมการเรียนรู้ เปลี่ยนไปเป็นการให้ความร่วมมือ
อำนวยความสะดวก และช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้ คือการเรียนการสอนจะต้องเปลี่ยนจาก
instruction ไปเป็น construction คือเปลี่ยนจากการให้ความรู้
ไปเป็น การให้ผู้เรียนสร้างความรู้


สรุป ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
ความรู้ไม่ใช่มาจากการสอนของครูหรือผู้สอนเพียงอย่างเดียว แต่ความรู้จะเกิดขึ้นและถูกสร้างขึ้นโดยผู้เรียนเอง
การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง (
Learning
by doing)




-------------------------------------

นาย วีระพงศ์ เสือบุญทอง 52E102023 ขอบคุณครับ
สร้างกริตเตอร์
| ฟังเพลง | ดารา | เกมส์