ปรัชญาการศึกษา

การแนะนำตนเอง



ปรัชญาการศึกษาผสมผสาน



ปรัชญาการศึกษาผสมผสาน
เนื่องจากปรัชญาการศึกษาแต่ปรัชญาล้วนมีแง่มุมและมีจุดเด่นกันไปคนละแบบจึงมีการเอาประเด็นต่างๆของปรัชญามากกว่า1ปรัชญามาผสมผสานขึ้นเพื่อนำไปใช้ในสถานการณ์ที่ต้องการ


ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม



ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism)ในปี ค.ศ.1930 ได้เกิดภาวะ
เศรษฐกิจตกต่ำในสหรัฐอเมริกา เกิดปัญหาการว่างงาน คนไม่รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เกิด
ช่องว่างระหว่างชนชั้นในสังคม จึงมีนักคิดกลุ่มหนึ่งพยายามจะแก่ปัญหาสังคมโดยใช้การศึกษาเป็น
เครื่องมือในการพัฒนาสังคม ผู้นำของกลุ่มนักคิดกลุ่มนี้ ได้แก่ จอรัจ เอส เค้าทส์ (George S.
Counts) ซึ่งมีความเห็นด้วยกับหลักการประชาธิปไตย แต่ต้องเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง และ
ควรเห็นว่าโรงเรียนควรมีหน้าที่แก้ปัญหาเฉพาะอย่างของสังคม
ผู้ที่วางรากฐานและตั้งทฤษฎีปฏิรูปนิยม ได้แก่ ธีโอดอร์ บราเมลด์ (Theodore
Brameld)ในปีค.ศ.1950 โดยได้เสนอปรัชญาการศึกษาเพื่อปฏิรูปสังคมและได้ตีพิมพ์ลงในหนังสือ
หลายเล่ม ธีโอดอร์ บราเมลด์ จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม
1. แนวความคิดพื้นฐาน ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยมมีแนวความคิดที่พัฒนา
มาจากปรัชญาพิพัฒนาการนิยม หรือ ปฏิบัตินิยม ซึ่งมีความเชื่อว่า ความรู้ ความจริง เป็นสิ่งที่
เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ความรู้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา ปรัชญาพิพัฒนาการนิยมเน้น
ความสำคัญของการพัฒนาผู้เรียน ส่วนปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยมมีแนวความคิดว่า ผู้เรียนมิได้
เรียนเพื่อมุ่งพัฒนาตนเองเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเรียนเพื่อนำความรู้ไปพัฒนาสังคมให้สังคม
เป็นสังคมประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
คำว่า ปฏิรูป หรือ Reconstruct หมายถึง บูรณะ การสร้างขึ้นมาใหม่ หรือทำ
ขึ้นใหม่ เน้นการสร้างสังคมใหม่ เพราะว่าสังคมขณะนั้นมีปัญหาต่าง ๆ มากมาย ทั้งปัญหา
ทางด้านเศรษฐกิจ และการเมือง การศึกษาจึงมีบทบาทในการเป็นเครื่องมือสร้างสังคมและ
วัฒนธรรมที่ดีงามขึ้นมาใหม่ เป็นสังคมในอุดมคติ ที่มีความเพียบพร้อม และจะต้องทำอย่าง
รีบด่วน
2. แนวคิดทางการศึกษา เนื่องจาการศึกษามีความสัมพันธ์กับสังคมอย่างแยก
ไม่ออก การศึกษาจึงควรนำสังคมไปสู่สภาพที่ดีที่สุด การศึกษาต้องทำให้ผู้เรียนเข้าใจและ มุ่งมั่นที่
16
จะสร้างสังคมอุดมคติขึ้นมาให้เหมาะสมกับพื้นฐานทางวัฒนธรรมและภาวะทางเศรษฐกิจของโลก
ยุคใหม่

ลัทธิอัตถิภาวะนิยม (Existentialism)



ลัทธิอัตถิภาวะนิยม (Existentialism)
เป็นลัทธิปรัชญาที่เกิดหลังสุด มีแนวความคิดที่น่าสนใจและท้าทายต่อการแสวงหาของ
นักปรัชญาในปัจจุบัน (กีรติ บุญเจือ 2522)
Existentialism มีความหมายตามศัพท์ คือ Exist แปลว่าการมีอยู่ เช่น ปัจจุบัน มีมนุษย์
อยู่ก็เรียกว่า การมีมนุษย์อยู่หรือ Exist ส่วนไดโนเสาร์ไม่มีแล้ว ก็เรียกว่ามันไม่ Exist คำว่า
Existentialism จึงหมายความว่า มีความเชื่อในสิ่งที่มีอยู่จริงๆ เท่านั้น (The world of existing)
หลักสำคัญปรัชญาลัทธินี้มีอยู่ว่า การมีอยู่ของมนุษย์มีมาก่อนลักษณะของมนุษย์
(Existence precedes essence) ซึ่งความเชื่อดังกล่าวขัดกับหลักศาสนาคริสต์ ซึ่งมีแนวความคิดว่า
พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์และสรรพสิ่งในโลก ก่อนที่จะลงมือสร้างมนุษย์พระเจ้ามีความคิดอยู่แล้วว่า
มนุษย์ควรจะเป็นอย่างไร ควรจะมีลักษณะอย่างไร ควรจะประพฤติปฏิบัติอย่างไร ทั้งหมดเป็นเนื้อหา
หรือสาระ ลักษณะของมนุษย์มีมาก่อนการเกิดของมนุษย์ มนุษย์จะต้องอยูในภาวะจำยอมที่จะต้อง
ปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระเจ้า หมดเสรีภาพที่จะเลือกกระทำตามความต้องการของตนเอง
ปรัชญาลัทธิอัตถิภาวะนิยมไม่ยอมรับแนวคิดดังกล่าว มีความเชื่อเบื้องต้นว่า มนุษย์เกิด
มาพร้อมกับความว่างเปล่า ไม่มีลักษณะใด ๆ ติดตัวมา ทุกคนมีหน้าที่เลือกลักษณะหรือสาระต่างๆ
ให้กับตัวเอง การมีอยู่ของมนุษย์ (เกิด) จึงมีมาก่อนลักษณะของมนุษย์หลักสำคัญของปรัชญานี้จะ
ให้ความสำคัญแก่มนุษย์มากที่สุด มนุษย์มีเสรีภาพในการกระทำสิ่งต่างๆได้ตามความพอใจและ
จะต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เลือก


ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม (Progessivism)




ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม (Progessivism) ปรัชญานี้ให้กำเนิดขึ้นเพื่อ
ต่อต้านแนวคิดดั้งเดิมที่การศึกษามักเน้นแต่เนื้อหา สอนให้ท่องจำเพียงอย่างเดียว ทำให้เด็กพัฒนา
ด้านสติปัญญาอย่างเดียว ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่มีความกล้าและความมั่นใจในตนเอง
ประกอบกับมีความก้าวหน้าในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้เกิดแนวความคิดปรัชญา
การศึกษาพิพัฒนาการนิยมขึ้น
13
ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยมเกิดขึ้นใน ค.ศ.1870 โดยฟรานซิส ดับเบิ้ลยู
ปาร์คเกอร์ (Francis W. Parker) ได้เสนอให้มีการปฏิรูปการศึกษาเสียใหม่ เพราะการเรียนแบบ
เก่าเข้มงวดเรื่องระเบียบวินัย แต่แนวคิดนี้ไม่ได้รับการยอมรับ ต่อมา จอห์น ดิวอี้ (John Dewey)
ได้นำแนวคิดนี้มาทบทวนใหม่ โดยเริ่มงานเขียนชื่อ School of Tomorrow ออกตีพิมพ์ในปี
ค.ศ.1915 ต่อมามีผู้สนับสนุนมากขึ้นจึงตั้งเป็นสมาคมการศึกษาแบบพิพัฒนาการ (Progessive
Education Association) (Kneller 1971 : 47) และนำแนวคิดไปใช้ในโรงเรียนต่างๆ แต่ก็ถูกจู่โจมตี
จากฝ่ายปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ปรัชญาการศึกษา สารัตถนิยม
กลับมาได้รับความนิยมอีก จนสมาคมการศึกษาพิพัฒนาการนิยมต้องยุบเลิกไป แต่แนวคิดทาง
การศึกษาปรัชญาพิพัฒนาการนิยมยังคงใช้ในสหรัฐอเมริกา ต่อมาได้รับความนิยมมากขึ้นและ
แพร่หลายไปยังประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทยด้วย


ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม (Perennialism)




ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม (Perennialism) เป็นปรัชญาการศึกษาที่ได้รับ
อิทธิพลจากปรัชญาพื้นฐานกลุ่มวัตถุนิยมเชิงเหตุผล(Rational realism) หรือบางทีเรียกว่าเป็นพวก
โทมนัสนิยมใหม่ (Neo – Thomism) เกิดขึ้นในขณะที่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกกำลังมีการพัฒนาทาง
อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้น โดยเฉพาะประเทศทางตะวันตกซึ่งมีระบบเศรษฐกิจแบบ
ทุนนิยม ก่อให่เกิดการแข่งขันทางการค้าอย่างไม่เป็นธรรม มีการเอารัดเอาเปรียบสินค้า ราคาสูง
เกิดปัญหาครอบครัว ขาดระเบียบวินัย มนุษย์ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้
ทำให้วัฒนธรรมเสื่อมสลายลงไป จึงมีการเสนอปรัชญาการศึกษาลัทธินี้ขึ้นมาเพื่อให้การศึกษาเป็น
สิ่งนำพามนุษย์ไปสู่ความมีระเบียบเรียบร้อย มีเหตุและผล มีคุณธรรมและจริยธรรม จึงเป็นที่มาของ
ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม
ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม มีมาแล้วตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ ผู้เป็นต้นคิดของ
ปรัชญาลัทธินี้ คือ อริสโตเติล (Aristotle) และเซนต์ โทมัส อะไควนัส (St. Thomas Aquinas)
อริสโตเติลได้พัฒนาปรัชญาลัทธินี้โดยเน้น การใช้ความคิดและเหตุผล จนเชื่อได้ว่า Rational
humanism ส่วนอะไควนัส ได้นำมาปรับให้เข้ากับสถานการณ์ โดยคำนึงถึงความเชื่อเกี่ยวกับพระ
เจ้า เรื่องศาสนา ซึ่งเป็นเรื่องของเหตุและผล แนวคิดนี้มีส่วนสำคัญโดยตรงต่อแนวคิดทาง
11
การศึกษาในศตวรรษที่ 20 นักปรัชญาที่เป็นผู้นำของปรัชญานี้ในขณะนี้คือ โรเบิร์ท เอ็ม ฮัทชินส์
(Robert M. Hutchins) และคณะได้รวบรวมหลักการและให้กำเนิดปรัชญานิรันตรนิยมขึ้นมาใหม่
ในปี ค.ศ.1929

ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม



ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม (Essentialism) เป็นปรัชญาการศึกษาที่เกิดใน
อเมริกา เมื่อประมาณปี ค.ศ.1930 โดยการนำของ วิลเลี่ยม ซี แบคลี (William C. Bagley) และ
9
คณะ ได้รวมกลุ่มกันเพื่อเผยแพร่แนวคิดทางการศึกษาฝ่ายสารัตถนิยม และได้รับความนิยมเป็น
อย่างมากในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และยังนิยมเรื่อยมาอีกเป็นเวลานาน เพราะมีความเชื่อว่า
ลัทธิปรัชญาสารัตถนิยมมีความเข้มแข็งในทางวิชาการและมีประสิทธิภาพในการสร้างค่านิยม
เกี่ยวกับระเบียบวินัยได้ดีพอที่จะทำให้โลกเสรีต่อสู้กับโลกเผด็จการของคอมมิวนิสต์ (ภิญโญ สาธร :
2525, 31)
3.1.1 แนวความคิดพื้นฐาน ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยมมาจากปรัชญาพื้นฐาน
2 ฝ่าย คือ ฝ่ายจิตนิยม ซึ่งมีความเชื่อว่า จิตเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในชีวิตของคน การที่จะรู้และ
เห็นความจริงได้ก็ด้วยความคิด (Ideas) อีกฝ่ายหนึ่งคือ วัตถุนิยม ซึ่งมีความเชื่อในเรื่อง วัตถุนิยม
วัตถุในธรรมชาติที่เราเห็น สัมผัส หรือมีประสบการณ์ต่อสิ่งเหล่านั้น ทั้งสองฝ่ายกลายเป็นเนื้อหา
หรือสาระ (Essence) หรือสารัตถศึกษา ปรัชญาการศึกษาลัทธินี้ให้ความสนใจในเนื้อหาเป็นหลัก
สำคัญ ถือว่าเนื้อหาสาระต่าง ๆ เช่น ความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ค่านิยม และอื่น ๆ เป็นสิ่งที่ดีงาม
ถูกต้อง ได้รับการกลั่นกรองมาดีแล้ว ควรได้รับการทำนุบำรุงและถ่ายทอดไปให้แก่คนรุ่นหลัง ถือ
เป็นการอนุรักษ์และถ่ายทอดทางวัฒนธรรม
3.1.2 แนวความคิดทางการศึกษา ปรัชญานี้มีความเชื่อว่า การศึกษาควรมุ่ง
พัฒนาความสามารถที่มนุษย์มีอยู่แล้ว เช่น ความสามารถในการจำ ความสามารถในการคิด
ความสามารถที่จะรู้สึก ฯลฯ การศึกษาควรมุ่งที่จะถ่ายทอดความรู้ที่สั่งสมกันมา ความเชื่อความ
ศรัทธาต่าง ๆ ที่ยึดถือกันเป็นอมตะ อบรมมนุษย์ให้มีความคิดเห็น และความเป็นอยู่สมถะของการ
เป็นมนุษย์ (Wingo 1974 : 234 อ้างถึงใน อรสา สุขเปรม 2541) ดังนั้นจึงควรจัดประสบการณ์ให้
ได้มาซึ่งความรู้ ทักษะ ค่านิยมที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต รู้จักรักษาและสืบทอดทางวัฒนธรรมอันดี
งามของสังคมไว้





Educational philosophy on PhotoPeach







กำลังสร้างโดเรมอน on PhotoPeach